แรงติดยึด แรงยึดกัน ความเหนียว

คุณต้องใช้น้ำผึ้งมากเท่าไรเพื่อแขวนรูปภาพ

เทคโนโลยี

การมีบทบาทภายในต่อกันและกันของความเหนียว แรงยึดกัน และแรงติดยึด เป็นสิ่งที่ทำให้ระบบติดยึดที่ไวต่อแรงกดเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ เราจะเล่าให้คุณฟังในที่นี้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

มันควรทำงานได้จริง ๆ: เรื่องแขวนรูปภาพด้วยน้ำผึ้ง เพราะน้ำผึ้งไม่เพียงแต่เหนียวติดนิ้วมือคุณเท่านั้น น้ำผึ้งยังติดกระดาษเช็ดปากกับนิ้วของคุณด้วย เวลาคุณต้องการเช็ดน้ำผึ้งออก มันติดหนึบ! แต่มันไม่เชื่อมติด ผู้เชี่ยวชาญของเราบอก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าน้ำผึ้งขาดแรงสำคัญที่ระบบติดยึดที่ไวต่อแรงกดบนเทปติดยึดของเรามี

ความเหนียว

สามแรงร่วมทำงานกันในระบบติดยึดที่ไวต่อแรงกด เพื่อให้สามารถเชื่อมติดกันได้จริงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเทปติดยึดของเรา: ความเหนียว แรงยึดกัน และแรงติดยึด ความเหนียว คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสารติดยึดสัมผัสกับพื้นผิวที่ต้องการติดกาวเป็นครั้งแรก ความเหนียวอธิบายว่าการสร้างพันธะการติดยึดจะทำให้เกิดขึ้นเร็วเพียงไร

มีความเหนียวสูง เช่น เมื่อมีการสร้างพันธะที่แข็งแกร่งด้วยแรงกดน้อยสุดและการสัมผัสสั้นยิ่ง เมื่อผลิตกระดาษ เป็นต้น จำเป็นต้องมีความเหนียวสูงเช่นนี้: เนื่องจากเครื่องจักรดึงกระดาษด้วยความเร็ว 1.9 กิโลเมตร ต่อ นาที สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดบนเทปติดยึดจะต้องเชื่อมติดอย่างรวดเร็วยิ่ง ถ้าจะต้องเชื่อมกระดาษม้วนถัดไปเข้ากับปลายม้วนกระดาษที่หมดแล้วในการปฏิบัติงานที่ดำเนินอยู่ น้ำผึ้งก็มีความเหนียวรวดเร็วที่ประจักษ์ชัด: จะติดเหมือนกาวทันทีที่คุณสัมผัสด้วยนิ้วมือ

น้ำผึ้งมีความเหนียวข้นมาก แต่มีพลังยึดเหนี่ยวต่ำ
น้ำผึ้งมีความเหนียวข้นมาก แต่มีพลังยึดเหนี่ยวต่ำ
เทปกาวให้การยึดเหนี่ยวพลังสูงคงนาน – แม้บนวัสดุที่มีคุณลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกัน
แรงติดยึดอธิบายพลังเชื่อมติดกับพื้นผิว แรงยึดกัน เป็นกำลังภายในตัวของสารติดยึดที่ต้องต้านทานแรงจากภายนอกโดยไม่เกิดการแตกหัก

แรงติดยึด

แรงที่สองที่มีการกระทำในสารติดยึดที่ไวต่อแรงกด คือ แรงติดยึด ดังที่คำแปลจากภาษาละตินเปิดเผยให้ทราบว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยึดติด คำจำกัดความที่แน่นอนของ แรงติดยึด คือ การดึงดูดหรือการเชื่อมทางกายภาพของสารสองชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการดึงดูดที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าของสารที่ไม่เหมือนกันสองชนิด ในกรณีเทปติดยึด แรงติดยึด คือ พันธะที่เชื่อมระหว่างสารติดยึดกับพื้นผิว สารติดยึดที่มีแรงติดยึดสูงจะเชื่อมติดได้ดีเป็นพิเศษกับชั้นวัสดุ ในกรณีน้ำผึ้ง แรงติดยึดค่อนข้างสูง เพราะว่าน้ำผึ้งติดยึดได้ดีพอควร

แรงยึดกัน

แรงที่สามและเป็นแรงสุดท้ายที่การติดยึดแบบไวต่อแรงกดต้องมี คือ แรงยึดกัน แรงยึดกัน เป็นคำมาจากภาษาละติน แปลว่า “ถูกเชื่อมติด” ซึ่งเป็นพันธะภายในของสารติดยึด เป็นระดับที่สารติดยึดจับเกาะตัวเองเข้าด้วยกันอย่างแข็งแรง แรงยึดกันระดับสูง หมายความว่า แรงติดยึดแข็งแรง ทนทาน และคงที่ในตัวเป็นพิเศษ แล้วก็ทนทานต่อการฉีกเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้สำคัญ ในกรณีที่เทปติดยึดจะต้องยึดน้ำหนักจำนวนมากไว้อย่างมั่นคง โดยที่สารติดยึดจะไม่ฉีกขาดออกจากกัน เป็นต้น โมเลกุลจะต้องเชื่อมติดกันอย่างแข็งแรง และ “เกาะยึด” กันและกันอย่างเหนียวแน่น ในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดกับน้ำผึ้งอย่างแน่นอน เพราะว่าน้ำผึ้งเหลวมาก และฉีกตัวออกจากกันได้ง่ายเป็นพิเศษ แรงยึดกันของน้ำผึ้งต่ำมาก

ดังนั้น เราจึงหาคำตอบได้: น้ำผึ้งไม่ใช่สารติดยึดตามคำจำกัดความของเรา เพราะขาดพันธะเชื่อมติดภายใน คือ แรงยึดกัน นี้ นั่นหมายความว่า: กระดาษเช็ดปากและมือของคุณยังคงติดกันต่อไปในอนาคต แต่คุณลืมเรื่องการแขวนภาพติดผนังด้วยน้ำผึ้งได้เลย

1. การใช้งานชั่วคราว

ความเหนียวและแรงยึดกันได้รับการปรับให้เหมาะเจาะกับการใช้งาน แรงติดยึดเป็นสิ่งสำคัญอันดับสอง การใช้งานมากมายต้องการความสมดุลกันระหว่างความเหนียวและแรงยึดกัน ความเหนียวประกันแรงติดยึดกับชั้นวัสดุทันที ในขณะที่แรงยึดกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลอกออกโดยไม่มี เศษติดค้าง สำหรับการใช้งานแบบชั่วคราวจำนวนมาก สิ่งนี้สำคัญมากกว่าแรงติดยึดพิเศษระดับสูง ที่จะแสดงออกมาในระดับแรงติดยึดสูง (ทนทานต่อการลอกออก)

  • การตรึง ชั่วคราว/ขั้นต้น
  • การป้องกันพื้นผิวชั่วคราว
  • พลังยึดเหนี่ยวที่ดีบนพื้นผิวที่เสียหายได้ง่าย
  • ลอกออกได้โดยไม่มีเศษติดค้าง
  • ปิดคลุมพื้นที่ป้องกันเปื้อนสี
  • การปะแก้ไข
  • สี หรือ ความแวววาว ไม่เปลี่ยน

 

2. การใช้งานแบบถาวร

แรงติดยึดและแรงยึดกันได้รับการปรับให้เหมาะเจาะกับการใช้งาน ความเหนียวเป็นสิ่งสำคัญอันดับสอง สารติดยึดในขอบเขตนี้ ได้รับการกำหนดคุณลักษณะขั้นต้นด้วยความสมดุลกันระหว่างแรงยึดกันและแรงติดยึด ที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะเจาะกับการใช้งาน สิ่งที่สำคัญ คือ ความคงทนของพันธะการเชื่อม ความเหนียว พลังยึดเหนี่ยวในชั่วขณะแรกของการสัมผัส เป็นสิ่งสำคัญอันดับสอง

  • การเชื่อมติดอย่างถาวร และการยึดอย่างปลอดภัย
  • ทนทานเป็นอย่างดีต่อการเสื่อมอายุ/ มีอายุการใช้งานยาวนาน 
  • เหมาะสำหรับพื้นผิวที่ราบเรียบและขรุขระ
  • การปิดผนึกกันรั่วซึม

 

3. การใช้งานแบบติดรวดเร็ว

ความเหนียวและแรงติดยึดได้รับการปรับแต่งให้เหมาะเจาะกับการใช้งาน แรงยึดกันเป็นสิ่งสำคัญอันดับสอง สิ่งสำคัญสำหรับการติดยึดในขอบเขตนี้ คือ ติดได้ทันทีและแน่นหนา นี่เป็นเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใด ความเหนียว และ/หรือ แรงติดยึด เป็นสิ่งที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีการสนับสนุนการรับน้ำหนักจำนวนมากตามปกติ และมีเงื่อนไขที่จำเป็นต้องลอกออกโดยไม่มีเศษติดค้าง แรงยึดกันจึงมักมีความสำคัญรองกว่า    

  • แรงติดยึดรวดเร็ว
  • ไม่มีการรับน้ำหนักมากอย่างถาวร