ความลับสู่ความสำเร็จของยางสังเคราะห์อยู่ที่โครงสร้างของ สายโซ่โมเลกุลของวัสดุนี้: ปลายแข็งสองปลายที่ด้านนอก (สไตรีน) ส่วนตรงกลางมีลักษณะคล้ายยาง นิ่มกว่า และยืดหยุ่น (บิวตาไดอีน) ดังนั้น โครงสร้างจึงเป็น: สไตรีน – บิวตาไดอีน – สไตรีน = SBS. ซึ่งดูเหมือนกับเชือกสำหรับแกว่งกระโดดซึ่งมีด้ามจับยาวพิเศษ ส่วนที่ดีที่สุด คือ คุณสามารถจัดเชือกสำหรับกระโดดนี้ให้เหมาะกับความต้องการได้เพื่อใช้เอาชนะความท้าทายทุกประการ
แข็ง หรือ นิ่ม คงความยืดหยุ่น
เทคโนโลยี
ยางสังเคราะห์มีโครงสร้างโมเลกุลที่มีหนึ่งเดียว – เหมาะสำหรับการพัฒนาเทปติดยึดได้อย่างสมบูรณ์แบบ ภาพสรุปคุณสมบัติของยางสังเคราะห์และคำตอบต่อคำถาม: ยางสังเคราะห์ คืออะไร
"เชือกแกว่งกระโดด" สำหรับทุกโอกาส
สัดส่วนของปลายแข็งต่อส่วนตรงกลางเป็นเครื่องกำหนดว่ายางสังเคราะห์แข็งแรงหรือมั่นงคงเพียงไร – ดังนั้นจึงกำหนดในท้ายสุดได้ว่าสารติดยึดของเทปติดยึดเคลื่อนไหวได้หรือนุ่มเพียงไร ส่วนปลายที่เป็นสไตรีนกำหนดการยึดกัน (แรงภายใน) ของสารติดยึด ส่วนตรงกลางที่คล้ายยางกำหนดการติดยึด โดยตัวเองแล้ว ยางสังเคราะห์ไม่มีคุณสมบัติการติดยึดอยู่ในตัวแต่อย่างไร ในการสร้างการติดยึดที่ไวต่อแรงกด จะต้องเติมสารสร้างความเหนียวเรซินลงไป แต่ตรงข้ามกับ พอลิเมอร์ของยางธรรมชาติ พอลิเมอร์ของยางสังเคราะห์มีความยาวที่สั้นและน้ำหนักโมเลกุลต่ำ
ส่วนตรงกลางที่ยืดหยุ่นของสายโซ่โมเลกุลซึ่งเรียกอีกอย่างว่าอิลาสโตเมอร์นั้น เมื่อพิจารณาในด้านการเสื่อมอายุแล้วมั่นคงกว่ายางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ได้มีขึ้นมาตั้งแต่ประมาณทศวรรษที่ 60 เรามักจะพบภายใต้คำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น SBC (styrene block copolymer), SBS (styrene butylene styrene), SIS (styrene isoprene styrene), SEBS (styrene ethylene butylene styrene) หรือ หลอมร้อน (ประเภทหลังนี้มีให้ใช้ได้กับ ยางธรรมชาติ และ พื้นฐานอะคริเลต ด้วย)
คุณสมบัติของยางสังเคราะห์
คุณสมบัติพิเศษของสารติดยึดจากยางสังเคราะห์รวมถึง ความเหนียวสูง ของสารนี้ ซึ่งหมายความว่าเทปติดยึดที่มียางสังเคราะห์ติดได้ดีบนพื้นผิวมากมาย – แม้แต่บนพื้นผิวที่มีพลังงานพื้นผิวต่ำ นอกจากนั้นแล้ว ยังมี ความทนทานต่อแรงเฉือนยอดเยี่ยม: ไม่เลื่อนหลุดจากพื้นผิวในกรณีรับน้ำหนักด้านข้าง
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ
สารติดยึดที่มียางสังเคราะห์ให้แรงติดยึดและแรงยึดกันค่อนข้างต่ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 40° C โดยประมาณ และความทนทานต่อการเสื่อมอายุต่ำกว่าส่วนประกอบสารติดยึดอื่น แต่ดีกว่าสารติดยึดที่มียางธรรมชาติ สารนี้เหมาะน้อยกว่ากับการปล่อยให้ถูกรังสี UV แต่สามารถทดแทนได้ด้วยการเติมสารสเตบิไลเซอร์
อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบมีน้ำหนักเกินกว่าข้อเสียเปรียบ ประการแรก คือ ความเหนียวสูง นั่นคือ การติดเหนียวแน่น ไม่ด้อยกว่าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแต่อย่างไร นอกจากนั้นแล้ว การติดยึดต้านทานแรงลอกที่ดีเลิศ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดประการหนึ่งของยางสังเคราะห์: เทปติดยึดติดได้ดีกับ พื้นผิวไร้ขั้ว และมีขั้ว ที่ลำบากและปกติ
"เชือกแกว่งกระโดด” ของโมเลกุล สามารถปรับได้อยู่เสมอให้เข้ากับความต้องการ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการใช้งานจำนวนมาก: ตั้งแต่แข็งทื่อและตัน จนถึงอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น tesa Powerstrips® ที่รู้จักกันดี มียางสังเคราะห์อยู่ด้วยเช่นเดียวกัน และที่แตกต่างจากยางธรรมชาติ คือ สามารถเคลือบฟิล์มโปร่งใสได้ด้วย นอกจากนั้นแล้ว การผลิตยางสังเคราะห์ยังอำนวยให้กระบวนการดำเนินไปได้รวดเร็ว ทำให้ลดต้นทุนการผลิต (เช่น กรณีการปิดผนึกกล่อง).