เคล็ดลับง่าย ๆ ในการหยุดยั้งความผิดพลาด
ความท้าทายทั่วไปในการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์พื้นนูนและวิธีหลีกเลี่ยง
ผู้มีประสบการณ์ด้านการพิมพ์ทุกคนทราบดีว่าการพิมพ์แต่ละครั้งจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว มีหลายตัวแปรที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพ เราได้รวบรวมปัญหาที่พบบ่อยที่สุด ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และวิธีหลีกเลี่ยงมาให้แล้ว
การทําความสะอาด
ส่วนประกอบที่ไม่สะอาดส่งผลเสียต่อห้องแท่นพิมพ์ และอาจทำให้เกิดปัญหามากมาย เช่น แม่พิมพ์หลุดระหว่างการพิมพ์ แม่พิมพ์เสียหายเมื่อถอดออก และอากาศเข้าไประหว่างปลอกสวมกับเทป การเลือกตัวทําละลายที่ถูกต้องสําหรับการทําความสะอาด ปลอกสวมและแม่พิมพ์ก็สําคัญเช่นกัน สิ่งสําคัญคือต้องเผื่อเวลาให้สารทําความสะอาดแห้งอย่างเพียงพอก่อนที่จะติดแม่พิมพ์ มิฉะนั้น สารอาจระเหยได้หลังจากติดแม่พิมพ์ และเกิดเป็นฟองอากาศ ทำให้แม่พิมพ์หลุด
เราแนะนําให้ทําความสะอาดด้านหลังของแม่พิมพ์ด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ 100% หรือใช้อะซิเตทไม่เกิน 20% ในสารละลาย ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ควรทําความสะอาดก่อนติดแม่พิมพ์ รวมทั้งก่อนจัดเก็บด้วยหากเป็นไปได้ แม้แต่แม่พิมพ์ที่ดูสะอาดที่สุด ก็อาจสะสมคราบหมึกที่ส่งผลต่อเหตุการณ์แม่พิมพ์หลุดและคุณภาพการพิมพ์ ตลอดจนความสะดวกในการถอดแม่พิมพ์ การเลือกโซลูชันการติดแม่พิมพ์ที่เหมาะสม ตลอดจนเทปกาวสำหรับการผลิตและเครื่องมือสําหรับกรณีเฉพาะจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหา และทีมสนับสนุนของเราก็พร้อมให้คําแนะนําในเรื่องนี้
อุณหภูมิและความชื้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศในห้องพิมพ์เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดความแตกต่างในกระบวนการของคุณอย่างมีนัยสําคัญ เช่น เทป แม่พิมพ์ และปลอกสวมควรอยู่ในอุณหภูมิใกล้เคียงกันขณะติด เพื่อป้องกันไม่ให้มีความชื้นสะสมระหว่างส่วนประกอบแต่ละชิ้น ซึ่งอาจทำให้เชื่อมติดกันไม่แน่นพอและทำให้แม่พิมพ์หลุด
อุณหภูมิ ความชื้น และการไหลเวียนของอากาศอาจส่งผลต่อคุณภาพของการถ่ายหมึก โดยเฉพาะหมึกที่ผลิตโดยใช้น้ำและแอลกอฮอล์ อาจแห้งเร็วหรือช้าเกินไป ดังนั้นการรักษาสภาพบรรยากาศให้คงที่หรือการปรับกําลังของเครื่องอบแห้งจึงช่วยได้ ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเกิดจากสมดุลของตัวแปรหลาย ๆ ตัว ตั้งแต่สภาพแวดล้อมไปจนถึงการเลือกใช้เทปกาว
แรงกด
ในการติดเทปและแม่พิมพ์ โปรดจําไว้ว่ากาวมีความไวต่อแรงกด โดยเฉพาะกาวแบบ low-tack ดังนั้นพื้นที่เทปหรือแม่พิมพ์ที่ได้รับ แรงกดน้อย หรือแย่กว่านั้นคือไม่มีแรงกดเลย ก็จะไม่ติดกัน พื้นที่เหล่านี้เป็นจุดที่ฟองอากาศจะเริ่มก่อตัว สิ่งที่ต้องระวังก็คือ บริเวณที่ติดไม่ดีในตอนเริ่มต้นอาจใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากเทปจะดึงพื้นที่รอบ ๆ ขึ้นมา
ดังนั้นอย่าลืมใช้แรงกดให้เพียงพอ เช่น ใช้ยางปาดน้ำในการติดเทปหรือใช้ลูกกลิ้งยางในการติดแม่พิมพ์ และปรับแรงกดบน เครื่องติดแม่พิมพ์ตามความเหมาะสม ใช้ลูกกลิ้งแบบวางเมื่อเป็นไปได้ เพื่อให้การติดเป็นไปอย่างสมดุล รวดเร็ว และมีแรงกดสูง
การเก็บรักษา
ควรเก็บแม่พิมพ์ เทป และปลอกสวมไว้ในอุณหภูมิระดับเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการควบแน่นบนชิ้นส่วนใด ๆ ความชื้นที่กักไว้ภายใน เช่น ระหว่างปลอกสวมกับเทป จะส่งผลให้ระดับการยึดเกาะอ่อนลง เราแนะนําให้จัดเก็บโซลูชันการติดแม่พิมพ์ tesa® Softprint และ tesa® Twinlock ในอุณหภูมิ 15-35 °C (60-95 °F) ที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ 40-60 %
เราแนะนําให้ทําความสะอาดด้านหลังของแม่พิมพ์ก่อนจัดเก็บ การปล่อยให้มีสิ่งปนเปื้อนอยู่บนแม่พิมพ์นานเกินไปจะส่งผลให้ ทําความสะอาดได้ยากขึ้นในภายหลัง